แหล่งกำเนิดลวดลาย: บ้านคุ้ม  และบ้านนาทะเล  ตำบลชัยจุมพล  และตำบลใกล้เคียง  อำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์  อายุของลวดลาย:  80-100 ปี   ประวัติความเป็นมา:  เป็นลายดั้งเดิมโบราณประกอบด้วยลายหลัก  1  ลายคือ  กาบนกนอนซ้อนนาคคู่  ลายประกอบ  2  ลายคือ นกคู่กินน้ำร่วมต้น, สะเปา(ขอน้ำคุ)   แต่เดิมเป็นลายที่ไม่มีชื่อเรียก  ชื่อเรียกปัจจุบันรองศาสตราจารย์ทรงพันธ์  วรรณมาศ  เป็นผู้กำหนดชื่อเรียก  ลักษณะของลวดลายหลักจะใช้สีในการจกเพลงสีเดียวตามแบบเดิมตั้งแต่โบราณโดยเฉพาะสีเหลือง(ไม่ใช้การจกแบบยกเขาเหมือนปัจจุบัน) ลายประกอบนกคู่กินน้ำร่วมต้นในอดีตน่าจะใช้การจกด้วยสีเดียวก่อน(สีเหลือง)  หลังจากนั้นพัฒนาเป็น 2 สี  3 สี  และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  จนถึง  5  สี ส่วนสะเปาในลายกาบนกนอนซ้อนนาคหลวงยังคงรูปแบบและสีโบราณไม่เปลี่ยนแปลง  ประโยชน์ใช้สอย:  จกเป็นลายตีนซิ่น สำหรับต่อกับตัวซิ่นไม่ว่าจะเป็นซิ่นไก  ซิ่นมุขหรือตาซิ่น  *หมายเหตุ  การจกลวดลายกาบนกนอนซ้อนนาคหลวงใช้วิธีการจกแบบโบราณ(จกด้วยขนเม่น)  ไม่ใช้วิธีการจกแบบยกเขา  ***ลายกาบนกนอนซ้อนนาคหลวง  36 ไม้  ตะกอ   -ลายหลัก  1  ลาย(กาบนกนอนซ้อนนาคคู่)

-ลายประกอบ  2  ลาย(นกคู่กินน้ำร่วมต้น, สะเปา)   ลักษณะการทอจก

********

โดยนางสาวจิรภา มังสาสติ

e-mail: parw_sung@hotmail.com

ดาวน์โหลดลายทอ–>Noknon – 01