แหล่งกำเนิดลวดลาย บ้านหลวงป่ายาง,บ้านนา,บ้านเหนือใหญ่,บ้านเก๊ามะปินและบ้านใกล้เคียงตำบลน้ำอ่างและตำบลใกล้เคียงอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตย์
ประวัติความเป็นมาของลวดลาย ลายโกมถมหรือโคมถมเป็นลายจกโบราณของกลุ่มไตยวนวนตำบลน้ำอ่างอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โกมถมเป็นลายหนึ่งในสองลายของลายจกตีนซิ่นชาวบ้านน้ำอ่าง ลายโกมถมหือลายโคม เป็นภาษาล้านนา หมายถึงลวดลายที่มีบานต่อกันเป็นช่อ (ขอ) และส่วนที่ว่างจะถูกถมให้เต็ม (ไม่ให้มีช้องว่าง) ลายโกมถมของตำบลน้ำอ่างโบราณจะใช้เพียง 2-3 สี แต่วรรณะสีจะเน้นที่วรรณะเขียวหรือเขียวเหลือง และดำหรือสีพื้นของตีนจกเป็นส่วนประกอบ ลายโกมถมหากพิจารณาลวดลายแล้วจะมีจกเป็นส่วยประกอบ ลายโกมถมหากพิจารณาลวดลายแล้วจะมีจกของบ้านหาดเสี้ยว จังหวัดสุโขทัยและจกอำเ๓อลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ลาย “แปดขอ” โดยเฉพาะลายหลักซึ่งมีรูปแบบเช่นเดียวกันกับลสย “โคมถม” แต่ส่วนประกอบของลายจะมีความแตกต่างกัน อนึ่งในปัจจุบันนี้ ตีนจกของตำบลน้ำอ่างได้มีการจกวรรณะของสีแตกต่างไปจากอดีตทั้งนี้เนื่องจากความต้องการของตลาด และเพื่อตอบสนองต่อสังคมและธุรกิจ จึงทำให้เอกลักษณ์เสียไป
อายุของลวดลาย (พ.ศ.2547) 80-110 ปี
จำนวน 25 ไม้
ลวดลายทั้งหมดประกอบไปด้วย ลายหลัก 1 ลาย ลายโกมถม (โคมถม) ลายประกอบ 8 ลาย
ลายมะลิเลื้อย
ลานเม็ดแตง,กาบ
ลายขอไล่(แนวกาบ)
ลายนกซ้อน
ลายนกห้อย,นกน้อย
ลายขออุ้ม
ลายกาบของสร้อยตีนนก
ลายกั๊วะดอกเอื้อง
วัสดุที่ใช้ใรการทอ ไหม,ฝ้านปั่นมือ,ฝ้านเกลียว,ฝ้ายพ่ายและไหมพรม
สีที่ใช้ สีเคมี
ประโยชน์ใช้สอย ใช้สำหรับจกเป็นตีนซื่นต่อกับตัวซิ่น โยไม่จำกัดชนิดของผ้าซิ่น
ผู้ออกแบบ : นางสาว นิภารัตน์ ณ เชียงใหม่ E-mail : beam110434@hotmail.com
ดาวน์โหลดลายโกมถม (โคมถม)